บทความนี้เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนจากประสบการณ์ของบรรณารักษ์งานวารสาร ผู้เขียนคาดหวังเพียงเพื่อ เปิดความคิดเห็นแก่ผู้ใช้บริการวารสารภาษาต่างประเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีที่ท่านผู้อ่านมีทัศนะเป็นอื่น ย่อมเป็นการดียิ่งที่จะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อการพัฒนางานร่วมกันต่อไป พัฒนาการของรูปแบบวารสาร
วารสารเป็นสารนิเทศที่สำคัญของห้องสมุด เพราะเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด เสนอความเคลื่อนไหวและพัฒนาการของวิทยาการสาขาต่างๆ ที่ได้จากการค้นคว้า วิจัย รวมทั้งให้ข้อมูลสถิติ ประกาศ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลผลิตและบริการ วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถนำเสนอเรื่องราวความก้าวหน้าต่างๆได้อย่างรวดเร็วกว่าหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ดังนั้น สารนิเทศจากวารสารจึงมีความทันสมัยกว่าสารนิเทศจากแหล่งอื่น (Osborn, 1980)
เนื่องจากความสำคัญดังกล่าวทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆผลิตวารสารออกมาในหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ รูปแบบวัสดุย่อส่วน รูปแบบฐานข้อมูลซีดี-รอม และรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ บรรณารักษ์จึงต้องศึกษารูปแบบต่างๆของวารสารและจัดหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้ ซึ่ง แต่ละรูปแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
1. วารสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์
2. วารสารในรูปแบบวัสดุย่อส่วน
3. วารสารในรูปแบบฐานข้อมูลซีดี - รอม
4. วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น